PRTHAINEWS

ตีพะลี อะตะบูครูภูมิปัญญา ยอดฝีมือช่างทำกริชรามัน ซึ่งอยู่ใน ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา
ตีพะลี อะตะบู
ครูภูมิปัญญา ยอดฝีมือช่างทำกริชรามัน ซึ่งอยู่ใน ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา

กริช เป็นอาวุธประจำกายที่สำคัญของชายขาวมลายู ถือเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นชายชาตรี บอกยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้ครอบครองและวงศ์ตระกูล เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย

ในจังหวัดยะลา มียอดฝีมือช่างทำกริช อยู่ที่อำเภอรามัน ครูตีพะลี อะตะบู ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูภูมิปัญญา ผู้อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะการทำ ‘กริชรามัน’ กริชสกุลช่างปาตานีที่สืบต่อกันมายาวนานกว่า 200 ปี

ด้ามกริชดั้งเดิม
เป็นรูปสลักสมมุติเทพ มีมือ ขา กำไลขา มีผม ด้านหลังมีรายละเอียดของผมยาวหยิก ส่วนใบหน้า มีเขี้ยว ฟัน จมูก ตา
และที่คอมีงูเป็นสร้อยคอ ซึ่ง งู คือสัญลักษณ์หนึ่งของพระศิวะ หากสังเกตรายละเอียดดีๆ จะเห็นว่ามีลึงค์พระศิวะอยู่ในอ้อมแขนด้านหนึ่งด้วย
ด้ามกริชรูปทรงต่างๆ
กริชรามัน นิยมทำเป็น หัวนกพังกะ มีลักษณะหัวตก คอสั้น มีจมูกงอนยาว ปากแสยะเห็นเขี้ยวและฟันชัดเจน มีทั้งแบบตัวผู้และตัวเมีย ไม้ที่นิยมนำมาทำหัวกริชเป็นไม้เนื้อแข็งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ตาลดำ ไม้แก้ว ไม้มะเกลือ ไม้มะม่วง เป็นต้น

ครูตีพะลีจัดตั้ง ‘ศูนย์ศึกษาหัตถกรรมตะโละหะลอ’ เพื่อถ่ายทอดวิชาทำกริช ฝึกฝนอาชีพ และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของกริช อีกทั้งให้เห็นความสำคัญของการสืบทอดภูมิปัญญาให้คงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน ปัจจุบันมีเยาวชนรุ่นใหม่ สนใจเข้ามาเรียนองค์ความรู้ในการทำกริชรามันจากครูตีพะลีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ศูนย์ฯแห่งนี้ เปิดรับผู้สนใจมาศึกษาอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดเพศ อายุ หรือศาสนา ขอเพียงปฏิบัติตามจรรยาบรรณช่างทำกริช 25 ข้อให้ได้ โดยคุณธรรมสำคัญอันดับต้นๆ คือ ต้องสำรวมกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่มีเจตนานำกริชไปต่อสู้หรือฆ่าฟัน ต้องไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด ของมึนเมาทุกชนิด เป็นต้น

กริชรามัน นิยมทำเป็น หัวนกพังกะ มีลักษณะหัวตก คอสั้น มีจมูกงอนยาว ปากแสยะเห็นเขี้ยวและฟันชัดเจน มีทั้งแบบตัวผู้และตัวเมีย ไม้ที่นิยมนำมาทำหัวกริชเป็นไม้เนื้อแข็งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ตาลดำ ไม้แก้ว ไม้มะเกลือ ไม้มะม่วง เป็นต้น

ที่ศูนย์แห่งนี้ เปิดสอนวิชาทำกริชครบทุกศาสตร์ช่างศิลป์ทั้งงานไม้และงานโลหะ สอนทุกขั้นตอนการทำกริชทั้งเล่ม ไม่ว่าจะเป็น หัวกริช ใบกริช และฝักกริช โดยส่วนสำคัญที่สื่อความหมายแสดงสัญลักษณ์และบรรดาศักดิ์ คือ หัวกริช หรือ ด้ามกริช

ในสมัยก่อน เจ้าเมืองทุกเมือง จะต้องมีกริช ในความเชื่อของฮินดูพราหณ์ กริช เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมสถาปนาเจ้าเมือง ลักษณะหัวกริชของเจ้าเมืองจะเป็นรูปสมมุติเทพ และมีรายละเอียดวิจิตรบรรจงกว่าชนชั้นรองลงมา บุคคลทั่วไปก็สามารถครอบครองกริชได้เช่นกัน เพียงแต่รูปทรงและหัวกริชก็จะแตกต่าง ลดหลั่นรายละเอียดลงไป ทั้งนี้ คนหนึ่งคน สามารถพกกริชได้มากกว่า 1 เล่ม ปัจจุบัน ก็ยังมีคนนิยมสะสมกริชอยู่ทั่วไป อีกทั้งยังมีการมอบรางวัลเนื่องในการประกอบคุณงามความดีและประดับชั้นยศ ด้วยการมอบกริชด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีเยาวชนรุ่นใหม่ สนใจเข้ามาเรียนองค์ความรู้ในการทำกริชรามันจากครูตีพะลีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ศูนย์ฯแห่งนี้ เปิดรับผู้สนใจมาศึกษาอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดเพศ อายุ หรือศาสนา ขอเพียงปฏิบัติตามจรรยาบรรณช่างทำกริช 25 ข้อให้ได้ โดยคุณธรรมสำคัญอันดับต้นๆ คือ ต้องสำรวมกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่มีเจตนานำกริชไปต่อสู้หรือฆ่าฟัน ต้องไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด ของมึนเมาทุกชนิด เป็นต้น

นับว่าวัฒนธรรมการทำกริชและให้คุณค่ากริช ยังคงสืบสานและอยู่ในความสนใจของผู้คนจนถึงปัจจุบัน

#ใต้สุดอยู่ไม่ไกล #ใต้ธงไทยเดียวกัน
#ยะลา #กริชรามัน #รามัน #กริช